Friday, January 20, 2012
Saturday, August 7, 2010
บทบาทพระมหากษัตริย์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ต่อการพัฒนาชาติไทย
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้มีบทบาทเกี่ยวกับการเมืองการปกครองการรวมชาติ การสร้างเอกราช การวางรากฐานการเมืองการปกครอง การสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินตั้งแต่อดีตสืบต่อมาตลอดปัจจุบันบทบาทของพระมหากษัตริย์มีส่วนช่วยสร้างเอกภาพของประเทศเป็นอย่างมาก คนไทยทุกกลุ่มไม่ว่าศาสนาใดมีขนบธรรมเนียมแตกต่างกันอย่างไรก็มีความรู้สึกร่วมในการมีพระมหากษัตริย์องค์เดียวกัน การเสด็จออกเยี่ยมราษฎรในจังหวัดต่างๆ แม้ท้องถิ่นทุรกันดาร หรือมากด้วยภยันตรายอยู่ตลอดเวลา ทำให้ราษฎรมีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้สึกผูกพันกับชาติว่ามิได้ถูกทอดทิ้ง พระราชกรณียกิจดังกล่าวของพระองค์มีส่วนช่วยในการปกครองเป็นอย่างมากพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์นั้นมีมาก และล้วนก่อประโยชน์ให้เกิดขึ้นต่อส่วนรวมทั้งสิ้น แม้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจจะเป็นพระราชภาระอันหนัก แต่ก็ได้ทรงกระทำอย่างครบถ้วนสม่ำเสมอ จนกระทั่งสามารถที่จะผูกจิตใจของประชาชนให้เกิดความจงรักภักดี เพาะตระหนักถึงน้ำพระทัยของพระองค์ว่า ทรงเห็นแก่ประโยชน์สุขของส่วนรวมมากกว่าพระองค์เอง ทรงเสียสละยอมทุกข์ยากเพื่อบ้านเมืองอย่างแท้จริงดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ที่ว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม
ด้านเศรษฐกิจ
การพัฒนาและการปฏิรูปที่สำคัญๆ ของชาติส่วนใหญ่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปูพื้นฐานประชาธิปไตย โดยการจัดตั้งกระทรวงต่างๆ ทรงส่งเสริมการศึกษาและเลิกทาส ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ทรงเกื้อหนุนวิทยาการสาขาต่างๆ ทรงสนับสนุนการศึกษาและศิลปวัฒนาธรรม ทรงริเริ่มกิจการอันเป็นการแก้ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยจะเห็นว่าโครงการตามพระราชดำริส่วนใหญ่มุ่งแก้ปัญหาหลักทางเกษตรกรรมเพื่อชาวนา ชาวไร่ และประชาชนผู้ยากไร้และด้อยโอกาสอันเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น โครงการฝนหลวง ชลประทาน พัฒนาที่ดิน พัฒนาชาวเขา เป็นต้น
ด้านสังคมและวัฒนธรรม
พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขและความเจริญแก่สังคม ได้ทรงริเริ่มโครงการต่างๆ ทำให้เกิดการพัฒนาขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พระราชดำริและโครงการที่ทรงริเริ่มมีมากซึ่งล้วนแต่เป็นรากฐานในการพัฒนาชาติทั้งสิ้น โครงการของพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันที่สำคัญ ได้แก่ โครงการอีสานเขียว โครงการฝนหลวง โครงการปลูกป่า โครงการขุดคลองระบายน้ำ โครงการปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดในเมืองใหญ่ โครงการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และอื่นๆ ทรงทำเป็นแบบอย่างที่ดีประชาชนและหน่วยราชการนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์ในทางการพัฒนาชาติขึ้นมาก นอกจากนี้ทรงทำให้เกิดความคิดในการดำรงชีวิตแบบใหม่ เช่น การประกอบอาชีพ การใช้วิทยาการมาช่วยทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
ด้านการต่างประเทศ
พระมหากษัตริย์ในอดีตได้ทรงดำเนินวิเทโศบายได้อย่างดีจนสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ โดยเฉพาะสมัยการล่าเมืองขึ้นในรัชกาลที่ 4 และ รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันก็ทรงดำเนินการให้เกิดความเข้าใจอันดี ความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศต่างๆ กับประเทศไทย โดยเสด็จพระราชดำเนินเป็นทูตสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ไม่น้อยกว่า 31 ประเทศ ทำให้นโยบายต่างประเทศดำเนินไปอย่างสะดวกและราบรื่น นอกจากนั้นยังทรงเป็นผู้แทนประเทศไทยต้อนรับประมุขประเทศ ผู้นำประเทศ เอกอัครราชทูต และทูตสันถวไมตรีจากต่างประเทศอีกด้วย
อ้างอิง
www.mwit.ac.th/~keng/lesson05/7.doc
www.thaigoodview.com/.../system%20rattanagosin01.html
puttawee.blogspot.com/2010/08/blog-post_7000.html
โครงงานทางประวัติศาสตร์
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
เนื่องจากปัจจุบันนี้โลกได้ปิดกว้างรับเอาสิ่งใหม่ๆ จากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นในหรือนอกประเทศ ถ้าอยากจะหาดูของโบราณ ทุกคนก็ต้องนึกถึงสิ่งเดียวกันนั้นคือ พิพิธภัณฑ์ และในจังหวัดสงขลาของเราก็มี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา ด้วยเหตุนี้สมาชิกในกลุ่มของเราเลยตัดสินใจที่จะยกเอาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา มาศึกษาหาข้อมู เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาให้กับบุคคลอื่นต่อไปจุดมุ่งหมายของการศึกษา
1.เพื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางใน การศึกษา


ลักษณะสถาปัตยกรรมของอาคารอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป สร้างเป็นตึกก่ออิฐสอปูน 2 ชั้น บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตก หันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา ลักษณะตัวบ้านยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ปลูกเป็นเรือนหมู่ 4 หลัง เชื่อมติดกันด้วยระเบียงทางเดิน มีบันไดขึ้น2 ทาง คือด้านหน้าและตรงกลางลานด้านใน กลางบ้านเป็นลานเปิดโล่งสำหรับปลูกต้นไม้หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านหน้าอาคารมีสนามและมีอาคารโถงขนาบสองข้าง ด้านหลังมีสนามเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูลักษณะเป็นบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษา หรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคา จะมีเครื่องหมายหยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็นลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ภายนอกอาคาร บริเวณผนังใต้จั่วหลังคา มีภาพประติมากรรมนูนต่ำสลับลายภาพเขียนสี เป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา
------------------------------------------------
ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ ความหมายของพิพิธภัณฑ์ " ตามที่สภาการพิพิธภัณฑ์ระหว่างชาติ หรือ ICOM (International Council of Museums) ได้ให้คำจำกัดความไว้แล้วว่า " พิพิธภัณฑ์ " คือ หน่วยงานที่ไม่หวังผลกำไร เป็นสถาบันที่ถาวรในการรวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย สื่อสาร และจัดแสดงนิทรรศการ ให้บริการแก่สังคมเพื่อการพัฒนา โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการค้นคว้าการศึกษา และความเพลิดเพลิน โดยแสดงหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสภาพแวดล้อม สิ่งซึ่งสงวนรักษาและจัดแสดงนั้นไม่ใช่เป็นเพียงวัตถุ แต่ได้รวมถึงสิ่งที่มีชีวิตด้วยโดยรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน สถานที่สงวนสัตว์น้ำ และสถานที่อันจัดเป็นเขตสงวนอื่นๆ รวมทั้งโบราณสถานและแหล่งอนุสรณ์สถาน ศูนย์วิทยาศาสตร์และท้องฟ้าจำลอง "
จะเห็นได้ว่า คำจำกัดความของพิพิธภัณฑ์นั้นกว้างมาก ครอบคลุมทั้งด้านวัฒนธรรมและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์และธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์นั้นแบ่งได้หลายแบบและบางแห่งก็จัดได้หลายประเภท เช่น
๑) แบ่งตามการสะสมรวบรวมวัตถุ ( Collection)
๒) แบ่งตามต้นสังกัดหรือการบริหาร เช่น พิพิธภัณฑ์ของรัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย
๓) แบ่งตามลักษณะของผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมาย เช่น นักเรียน นักศึกษา หรือบุคคลทั่วไป หรือ
๔) แบ่งตามการจัดแสดง เช่น พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พิพิธภัณฑ์แหล่งโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ฯลฯ
แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะประเภทของพิพิธภัณฑ์ที่แบ่งตามการจัดแสดง และวัตถุประสงค์ที่ใช้ในการจัดแสดง ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปในปัจจุบัน คือ
๑. พิพิธภัณฑสถานประเภททั่วไป จะรวบรวมวัตถุทุกประเภท และทุกเรื่องเอาไว้ ถือเป็นพิพิธภัณฑ์แบบแรกก่อนที่จะมีการพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะเรื่องในสมัยต่อมา
๒. พิพิธภัณฑสถานศิลปะ จัดแสดงเกี่ยวกับศิลปวัตถุทุกประเภท โดยจะแยกย่อยออกเป็น พิพิธภัณฑสถานศิลปประยุกต์ แสดงวัตถุที่เป็นงานฝีมือ เครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ หอศิลป์ แสดงงานศิลปะประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม, พิพิธภัณฑสถานศิลปะสมัยใหม่จะคล้ายกับหอศิลป์ แต่จะเป็นศิลปะสมัยใหม่ของศิลปินร่วมสมัยในยุคหลัง, พิพิธภัณฑสถานศิลปะประเภทการแสดง และพิพิธภัณฑสถานศิลปะแรกเริ่ม แสดงงานศิลปะดั้งเดิมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์
๓. พิพิธภัณฑสถานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื้อหาหลักคือแสดงวิวัฒนาการความก้าวหน้าของวัตถุที่มนุษย์คิดค้นประดิษฐ์ขึ้น
๔. พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จัดแสดงเรื่องราวของธรรมชาติเกี่ยวกับเรื่องของโลก ทรัพยากรทางธรรมชาติต่างๆ และยังรวมไปถึง สวนสัตว์ สวนพฤกษชาติ วนอุทยาน พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ-สัตว์บกด้วย
๕. พิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ แยกย่อยได้เป็นพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์ แสดงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเมือง ทหาร สังคม และเศรษฐกิจ, บ้านประวัติศาสตร์ คือการนำเสนอสถานที่ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีชื่อเสียงในอดีต, โบราณสถาน, อนุสาวรีย์ และสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมต่างๆ รวมถึงเมืองประวัติศาสตร์ และพิพิธภัณฑสถานประวัติศาสตร์โบราณคดี
๖. พิพิธภัณฑสถานชาติพันธุ์วิทยาและประเพณีพื้นเมือง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ในทางวัฒนธรรมและสังคมของมนุษย์และชาติพันธุ์ต่างๆ แบ่งออกเป็น พิพิธภัณฑสถานพื้นบ้าน (พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น) โดยจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน และพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้ง เป็นการจำลองภาพในอดีตด้วยการนำอาคารเก่า หรือจำลองสิ่งปลูกสร้างต่างๆ มาไว้ในบริเวณเดียวกัน โดยพยายามสร้างสภาพแวดล้อมรวมถึงบรรยากาศให้เหมือนเช่นในอดีต
ปัญหาของพิพิธภัณฑ์
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์เป็นแหล่งสะสมความรู้ และมีบทบาทหน้าที่ ที่ต้องเชื่อมโยงกับหน่วยงาน องค์กรและสถาบันมากมาย อีกทั้งตัวของพิพิธภัณฑ์เองยังมีหน้าที่สะสมศิลปวัตถุและจัดแสดงเผยแพร่แก่ประชาชนได้เข้ามาศึกษาหาความรู้ ต้องจัดทำโครงการเพื่อการศึกษาต่างๆ พร้อมทั้งต้องหาทุนเพื่อมาใช้จ่ายภายในพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์ย่อมมีปัญหาที่เกิดขึ้นภายในหน่วยงานของพิพิธภัณฑ์เอง และจากสภาวะภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ซึ่งพอจะจำแนกปัญหาใหญ่ๆ คือ ปัญหาด้านบทบาทและหน้าที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะ ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันว่าพิพิธภัณฑ์ควรจะให้บริการด้านวิชาการหรือมีบทบาทเพื่อผลประโยชน์ในการสอนให้ผู้ดูเกิดความรู้โดยตรง แต่เป็นที่สร้างเสริมให้บุคคลเกิดความสุนทรียภาพในหัวใจเป็นสำคัญ
ปัจจุบันนี้ส่วนที่ดีก็คือมีประชาชนต้องการการบริการของพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ซึ่งต่างคนก็ต่างที่มา มีความต้องการต่างๆ กัน ไม่มีการจัดแบ่งด้านการให้ความรู้ทางพิพิธภัณฑ์อย่างเคร่งครัดตายตัวตามแบบแผนในอดีตอีกต่อไป ไม่เกิดการแบ่งแยกระหว่างความต้องการของนักท่องเที่ยวธรรมดากับผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ ในปัจจุบัน ผู้คนจึงเข้าชมพิพิธภัณฑ์ด้วยความเพลิดเพลิน เพื่อค้นหา ความรู้ ข้อมูล และเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ พิพิธภัณฑ์ จึงต้องพยายามปรับเปลี่ยนบทบาทของตนในหลักการนิยามใหม่ ส่วนข้อเสียนั้นคือการเปลี่ยนแปลงตัวเองของพิพิธภัณฑ์เพื่อรองรับความต้องการ ของคนในปัจจุบันกลายเป็นเรื่องที่ต้องแข่งขันกันเหมือนอยู่ในสมรภูมิรบ พร้อมกับความพยายามที่จะดำรงไว้ซึ่งการรักษาประวัติศาสตร์และการตัดสินปัญหาของวัฒนธรรมประชาธิปไตยอันเป็นหน้าที่สำคัญ ของพิพิธภัณฑ์ โดยแทบไม่ทันสังเกตุ
ปัญหาด้านการสนับสนุนจากสังคม สำหรับพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย สุจิตต์ วงษ์เทศ (25247 : 52-61 ) กล่าวว่า พิพิธภัณฑ์ที่กรมศิลปากร จัดทำอยู่ในประเทศไทยทุกวันนี้เป็นเพียงรูปแบบหนึ่ง ในจำนวนมากมายหลายรูปแบบจุดด้อยมีเพียงกรมศิลปากรได้ จัดพิพิธภัณฑ์ได้เพียงรูปแบบเดียวทำให้คนส่วนใหญ่เบื่อพิพิธภัณฑ์ ทำให้คำว่า พิพิธภัณฑ์ กลายเป็นเรื่องล้าสมัย ประชาชนและรัฐบาลจึงไม่ได้ให้ความสำคัญต่อพิพิธภัณฑ์เท่าที่ควรในปัจจุบันประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์อยู่เพียง 200 แห่ง เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ 39 แห่ง ซึ่งนับว่าต่ำมากหากเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว (สานปฏิรูป 2541 : 10) ประชาชน มีความเห็นว่าพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมีปัญหาในการด้านการ บริหารจัดการ ลักษณะการจัดแสดงที่ไม่น่าสนใจ ซ้ำซากจำเจ การจัดกิจกรรม, นิทรรศการ หมุนเวียน มีน้อย, เวลาเปิดและปิดในการเข้าชมไม่สะดวกต่อผู้ชม, การให้ข้อมูลความรู้ชนิดที่ศึกษาได้ด้วยตัวเอง มีน้อย ไม่เป็นอิสระพอ (สานปฏิรูป 2541 : 10)
ปัญหาของพิพิธภัณฑ์ทางด้านเศรษฐกิจ พิพิธภัณฑ์ ในต่างประเทศหลายแห่งที่ต้องปิดตัวเองลง บางแห่งปิดการ บริการเป็นบางส่วน พิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้นในยุค 60 ที่เป็นช่วงเศรษฐกิจเพื่องฟู ต้องลดพนักงานลง บางแห่งมีค่าใช้จ่ายสูง จนไม่อาจซื้องานศิลปะใหม่ ๆ ได้อีกรวมทั้งไม่อาจจัดรายการต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ได้ด้วย ทั้ง ๆ ที่พิพิธภัณฑ์กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนในด้านศิลปะมากขึ้น และกำลังสื่อสารให้สังคมเห็นประโยชน์ของพิพิธภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ภาวะปัญหาทางด้านการเงินทำให้พิพิธภัณฑ์ไปได้ไม่ไกล(Newsom, 1975:50-51) ซึ่งปัญหาด้านนี้ก็เกิดขึ้นกับประเทศเราเช่นกัน
-------------------------------------------
ประมวลภาพการศึกษาแหล่งเรียนรู้บริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดสงขลา
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://th.wikipedia.org/wiki/www.hamanan.com/tour/songkhla/pipittaphunsongkhla.htmlwww.nsm.or.th/และหนังสือแนะนำพิพิธภัณฑ์ จังหวัดสงขลา
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

หากกล่าวถึงรูปแบบการปกครองของสังคมโลกในปัจจุบันแล้ว เราอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งกระแสประชาธิปไตย ในงานเขียนชิ้นนี้จึงมุ่งนำเสนอมุมมองและการศึกษาประชาธิปไตย โดยผ่านเสรีประชาธิปไตยซึ่งเป็นกระแสหลักของโลก โดยจะกล่าวดังต่อไปนี้
1.ความหมายของประชาธิปไตย
อริสโตเติล (Aristotle) กล่าวไว้ว่าในระบอบประชาธิปไตยนั้นอำนาจสูงสุดอยู่ในมือของประชาชนทั้งหมด (กมล สมวิเชียร,2520;2)
ประเวศ วะสี ประชาธิปไตยคือ การลดอำนาจรัฐ หัวใจของประชาธิปไตยคือการลดอำนาจรัฐและเพิ่มอำนาจประชาชน (ประเวศ วะสี,2535:62)
สำหรับความหมายและนิยามประชาธิปไตยนั้น มีอยู่หลากหลายและแตกต่างกันไปตามมุมมองของสังคมและผู้นิยามหรือผู้ให้การศึกษา แต่สำหรับประเทศไทย ประชาธิปไตยนั้นเป็นกระแสประชาธิปไตยแบบเสรีประชาธิปไตย
เสรีประชาธิปไตยหรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าประชาธิปไตยแบบตะวันตกต้นกำเนิดมายาวนานกว่าประชาธิปไตยแบบอื่นๆ ซึ่งเชื่อว่าระบบการเมืองของมนุษย์เกิดขึ้นได้ด้วยความสมัครใจและสติปัญญาของมนุษย์ มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเป็นสมาชิกของรัฐ ดังนั้นจึงควรได้รับการรับรองสิทธิ การใช้กำลังบังคับเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในทางการเมือง ถือเป็นความชั่วร้าย(วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น,2524:14-17)
2.ประชาธิปไตยกับสังคมการเมืองไทย : 2475- ปัจจุบัน
เมื่อกล่าวถึงประชาธิปไตยในสังคมการเมืองไทย เราอาจกล่าวได้ว่ายุคที่เริ่มมาสู่การเป็นระบอบประชาธิปไตยของไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นในเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่24 มิถุนายน2475 โดยคณะราษฎร ซึ่งเป็นยุคที่มีการพัฒนาการทางด้านประชาธิปไตยเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ที่เราเรียกการปกครองของไทยว่าเป็น รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
แต่หากเรามองสังคมการเมืองไทยยุค2475-ปัจจุบันเปรียบเทียบกับหลักการหรือวิถีการแห่งประชาธิปไตยในสังคมโลกที่เป็นเสรีประชาธิปไตยอย่าง อเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ที่เรารับแนวคิดมานั้นเราจะพบอะไรบางอย่าง
เมื่อกล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ.2475 โดยเปลี่ยนระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสภา และต่อมาก็มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรนั้นเป็นผลผลักดันความคิดที่ต้องการมีส่วนร่วมกำหนดชะตากรรมของรัฐที่สำคัญกับบรรดากลุ่มขุนนางและเป็นผลิตผลของการปฏิรูปการปกครองเมื่อพ.ศ.2475 และปัจจัยการผลักดันการเคลื่อนไหวการเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิต นักเรียน นักศึกษา และประชาชนในเหตุการณ์ตุลาคม 2516นั้น ก็คือ การป้องกันมิให้เกิดการสืบทอดอำนาจเผด็จการโดยนำเอารัฐธรรมนูญมาเป็นเครื่องมือต่อต้านการก่อรูปอย่างเป็นสถาบันของอำนาจเผด็จการโดยคณะทหารและการต่อต้านรัฐบาล พลเอกสุจินดา คราประยูร ในเดือนพฤษภาคม 2528ก็ได้รับการผลักดันจากการต่อสู้กับการฝักตัวของอำนาจเผด็จการทหารภายใต้เปลือกของคณะ รสช .
ซึ่งหากเรามองดูลักษณะการเมืองการปกครองในช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475เป็นต้นมาถึงสมัยจอมพลสฤษ ธนะรัชต์ เราจะเห็นได้ว่าระบอบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยที่ข้าราชการเป็นใหญ่ (ชัยอนันท์ สมุทวาณิช,2538:56-57)
เพราะในช่วงดังกล่าว ระบบการเมืองมีเพียงระบบราชการเท่านั้นที่มีอำนาจและอิทธิพลทางการเมือง การตัดสินใจต่างๆของรัฐบาลล้วนมาจากการริเริ่มของระบบราชการ และอาศัยความเห็นชอบของระบบราชการเป็นส่วนในการตัดสินนโยบายต่างๆของรัฐ เพราะในช่วงนี้กลุ่มนอกระบบราชการอาทิ นักธุรกิจ กรรมกร ชาวนามีน้อยและไม่เข้มแข็ง นอกจากนี้ระบบการเมืองที่อิงอยู่บนฐานของระบบราชการได้แพร่อิทธิพลเข้าสู่ภาคธุรกิจในรูปของรัฐวิสาหกิจและร่วมมือกับนักธุรกิจในการดำเนินงานธุรกิจเอกชน และผู้นำในช่วงดังกล่าวล้วนมาจากระบบราชการโดยเฉพาะทหาร เช่น พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา จอมพลป.พิบูลสงคราม พล.ร.ต. ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พลเอกถนอม กิตติขจร จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และแม้จะมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การเลือกตั้ง แต่ประชาชนหาได้มีบทบาทที่มีความหมายอย่างแท้จริง ดังนั้นรัฐไทยในช่วงดังกล่าวจึงเป็นรัฐอำมาตยาธิปไตยของระบบราชการโดยเฉพาะทหาร(วิชัย ตันศิริ,2548:231-240) และหลังจากยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ก็เกิดการกำเนิดขึ้นของชนชั้นกลางและการขยายตัวของชนชั้นกลางในสังคมไทย สาเหตุของการเกิดชนชั้นกลางนั้นเป็นผลจากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ ทำให้ภาคเอกชนขยายตัวได้รวดเร็ว โดยเฉพาะสถาบันการเงินธนาคารและอุตสาหกรรม จนพ.ศ.2525-2526 ภาคเอกชนได้ขยายตัวและเปิดตำแหน่งหน้าที่การงานมากมาย โดยเฉพาะบริษัทใหญ่เช่นการให้สวัสดิการและความมั่นคงแก่พนักงานและด้วยสภาพการที่สังคมขยายตัวและมีความสลับซ้อนมากขึ้นรัฐบาลจึงต้องขยายตัวเพื่อดูแลให้บริการแก่ประชาชนที่เพิ่มขึ้น ทำให้บุคคลมีโอกาสทำงานในภาครัฐเพิ่มขึ้น ผนวกกับกระแสการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตของชนชั้นกลางในสังคมอื่น เช่น อเมริกันและญี่ปุ่น ทำให้เกิดการรับรู้และเลียนแบบวิถีชีวิตของชนชั้นกลางโดยไม่รู้ตัวหรืออาจจะรู้ตัวก็ได้ และยิ่งขณะนั้นการศึกษาเป็นความต้องการของบุคคล เพื่อการก้าวหน้าในชีวิตและการงาน ฐานะทางสังคม ด้วยเหตุนี้ชนชั้นกลางในขณะนั้น เช่น พ่อค้า นักธุรกิจ นายทุน ข้าราชการฯลฯ การเติบโตของชนชั้นกลางที่ขยายตัวพร้อมกับภาคเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีกลุ่มนักธุรกิจเริ่มเข้าไปหาประโยชน์ในภาคการเมือง เช่น เชิญชวนข้าราชการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในธุรกิจเพื่ออาศัยความคุ้มครองจากระบบราชการ จนกระทั่งได้ขยายฐานอำนาจเข้าไปแทรกแซงกระบวนการทางการเมือง การเข้าไปมีตำแหน่งนั้นในการทำธุรกิจและหาเงินจากการอนุมัติโครงการ จึงเป็นลักษณะของธุรกิจการเมือง การใช้อำนาจเงินในการเข้าสู่ตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองเช่นนี้ทำให้เกิดสถานการณ์เรียกว่า ธนาธิปไตย ซึ่งยุคของการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มอณาธิปไตย(ระบบราชการ) กับกลุ่มธนาธิปไตย (ชนชั้นกลาง นักธุรกิจ นายทุน) ซึ่งอยู่ในฐานะกลุ่มผู้ปกครองถือครองอำนาจของรัฐและได้รับผลประโยชน์จากอำนาจดังกล่าว ก็ได้แข่งขันช่วงชิงกัน เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับรูปแบบประชาธิปไตยของตน โดยใช้ผู้ใต้ปกครองนั่นคือประชาชน เป็นฐานความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย(ในทางรูปแบบ) ให้กับกลุ่มผู้ปกครอง ผ่านการออกเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น (จุมพล หนิมพาณิช,2548)
ดังนั้นแล้วเราจะเห็นได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยในระบบการเมืองไทยไม่ได้เกิดขึ้นจากการต่อสู้ร่วมกันระหว่างผู้นำทางการเมืองประชาชน แต่เป็นเรื่องของผลิตผลการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของกลุ่มผู้ปกครอง นั้นคือ กลุ่มข้าราชการประจำที่มีทหารเป็นแกนหลัก และกลุ่มพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งและแม้ในรัฐบาลทักษิณ ชิณวัตรซึ่งมีรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ที่ให้สิทธิแก่ประชาชนในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทั้งในรูปแบบ อบจมม. อบต. องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆแต่ก็เป็นเพียงรูปแบบเท่านั้นหาได้มีการกระจายอำนาจที่แท้จริงไม่ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยก็เป็นเพียงในบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ หากแต่ในความเป็นจริงประชาชนไม่ได้มีสิทธิ เสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยเลย เห็นได้จาก กรณีการปราบปรามยาเสพติดโดยการฆ่าตัดตอน ที่ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง จนทำให้ประเทศถูกวิจารณ์จากต่างประเทศว่าเป็นประเทศแห่งการละเมิดสิทธิมนุษยชน การจัดการทรัพยากรชุมชนรัฐก็ยังเข้ามาควบคุม บางครั้งก็ถึงกับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เช่น การตั้งเขตชุมชนที่ชาวบ้านอยู่เป็นสิบๆปีเป็นเขตป่าสงวน หรือเขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์ป่า ปัญหาการสร้างเขื่อนโดยไม่มองภาคประชาชนในพื้นที่ มองแต่ผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง พ่อค้า นักธุรกิจ ผลประโยชน์ของรัฐบาล เช่น กรณีการสร้างเขื่อนปากมูลตั้งแต่ปี2532 จนเป็นปัญหากระทั่งทุกวันนี้ อีกทั้งปัญหาความรุนแรงใน3จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่ได้รับการแก้ไข นอกจากนี้ยังเปิดช่องทางให้กับนักการเมืองและกลุ่มนักธุรกิจอาศัยเป็นช่องทางในการหาประโยชน์และโกงกิจบ้านเมือง ดังที่ปรากฏให้เห็นในช่วงก่อนหน้าการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา
3.สรุปและข้อเสนอแนะ
ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม สิทธิและ เสรีภาพ หลักประกันของประชาชนในชีวิตและทรัพย์สินรวมทั้งความสงบสุขและก้าวหน้าของประเทศตามระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีประชาธิปไตย ยังไม่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยที่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและพัฒนาทางการเมืองไทยในช่วง 2475 เป็นต้นมาเป็นเพียงการต่อสู้กันระหว่างผู้กุมอำนาจทางสังคมการเมืองสองระบอบคือ" คณาธิปไตย" ที่นำโดยข้าราชการโดยเฉพาะทหาร กับ "ธนาธิปไตย" ที่นำโดยกลุ่มนักธุรกิจ นายทุนที่มีเงินเป็นฐานในการสร้างอำนาจและยิ่งปัจจุบัน รัฐบาลภายใต้การนำของคณะทหารโดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหรือ (คมช.) ที่ทำการรัฐประหารรัฐบาลทักษิณเป็นผู้ได้กุมอำนาจทางการเมืองและสังคมและได้พยายามจะใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อแก้ปัญหาของบ้านเมือง เพื่อความมั่นคง และสงบสุขของประเทศตามที่ได้กล่าวอ้างไว้ เมื่อครั้งทำการรัฐประหารยิ่งเป็นการบ่งบอกถึงอะไรบางอย่าง เกี่ยวกับสังคมไทยนั่นคือ ประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญซึ่งได้มาจากการรัฐประหาร จะสร้างความมั่นคง สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ความสงบสุขและก่อให้เกิดระบอบประชาธิปไตยที่มวลมนุษย์แสวงหาได้จริงหรือ ?
หรือว่าประชาธิปไตยของไทยยังคงจะดำเนินต่อไปในรูปแบบของการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง " คณาธิปไตย" กับ "ธนาธิปไตย" ต่อไป จึงเป็นที่น่าสนใจว่ารูปแบบของประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจากโลกตะวันตก ในแบบเสรีประชาธิปไตยนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ในสังคมไทย
และเราจะเห็นถึงพลังบางอย่างที่อิงอยู่ในระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ที่คณะรัฐประหารได้ใช้เพื่อรองรับความชอบธรรมและเป็นแรงสนับสนุนในการรัฐประหารครั้งนี้ จนกระทั่งเกิดกระแสที่นักวิชาการไทยต้องแยกแนวคิดกับเหตุการณ์ครั้งนี้ออกเป็น 2 ฝ่าย อย่างที่ไม่เคยปรากฏในการรัฐประหารครั้งไหนๆ นั้นคือ สถาบันกบัตริย์ ที่ถูกกล่าวอ้างถึงหลายต่อหลายครั้ง
ทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่านอกจากการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างกลุ่มผู้ปกครอง " คณาธิปไตย" กับ "ธนาธิปไตย" ในสังคมไทยแล้วยังมีปัญหาหรือเงื่อนไขอะไรอีกหรือไม่ที่แอบแฝงอยู่ในการสร้างประชาธิปไตยในสังคมไทยในแบบเสรีประชาธิปไตยที่เรารับเข้ามาจากตะวันตกซึ่งเป็นกระแสหลักของโลกในขณะนี้

บรรณานุกรม
กมล สมวิเชียร. ประชาธิปไตยกับสังคมไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2520.
จุมพล หนิมพาณิช. พัฒนาการทางการเมืองไทย อำมาตยาธิปไตย ธนาธิปไตย หรือประชาธิปไตย.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.
ชัยอนันต์ สมุทวณิช. ประชาธิปไตยกับอนาคตการเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ผู้จัดการ, 2538.
ประเวศ วะสี. การพัฒนาประชาธิปไตยและการปฏิรูปทางการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
หมอชาวบ้าน, 2537.
วิชัย ตันศิริ. วิวัฒนาการของระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2548.
วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น. ประชาธิปไตยแนวความคิดและตัวแบบประเทศประชาธิปไตยในอุดมคติ.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2524.
Saturday, July 31, 2010
พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-5-6-7

1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 5รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้
ก. การปฏิรูปการปกครอง
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป
3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น
สมัยรัชกาลที่ 5
1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
Friday, July 30, 2010
พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญ
การบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยา
กรมของเจ้านายที่มีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความมั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่
สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎร
หัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแล
หัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
นโยบายที่ใช้ในการปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด
ส่วนการปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระมหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้งสองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน
สภาพทางเศรษฐกิจสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังคงยึดแบบแผนที่ปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยอยุธยาและสมัยกรุงธนบุรีเป็นหลัก ซึ่งพอจะประมวลองค์ประกอบทางเศรษฐกิจที่สำคัญได้ 3 ประการคือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการค้า ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ ระบบเงินตรา
1. หน่วยงานที่เกี่ยวกับการค้าและเศรษฐกิจ
1.1 พระคลังสินค้า เป็นหน่วยงานที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการค้าขาย ทำหน้าที่ควบคุมสินค้าขาเข้าและขาออก ตลอดจนการเลือกซื้อสินค้าที่ทางราชการต้องการ หรือสินค้าผูกขาด (สินค้าที่ทางราชการต้องการและคิดว่ามีอันตรายหากพ่อค้าจะทำการซื้อขายกันโดยตรง) ได้แก่ อาวุธ กระสุนปืน และควบคุมกำหนดสินค้าต้องห้าม (คือสินค้าที่หายากและมีราคาแพง ราษฎรต้องนำมาขายให้แก่ทางราชการ) ได้แก่ งาช้าง รังนก ฝาง กฤษณา พระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานการค้าแบบผูกขาด จึงได้ผลกำไรมาก แต่เมื่อไทยมีการค้าขายกับต่างชาติ โดยเฉพาะชาวตะวันตก พ่อค้าเหล่านั้นไม่ได้รับความสะดวกภายหลังหน่วยงานนี้ถูกยกเลิกไปภายหลังการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง
1.2 กรมท่า เป็นกรมที่ทำหน้าที่ติดต่อกับพ่อค้าต่างชาติ เพราะกรมนี้มีหน้าที่ปกครองหัวเมืองชายทะเล จึงเป็นกรมที่กว้างขวางและคุ้นเคยกับชาวต่างชาติ ปัจจุบันกรมนี้คือกระทรวงการต่างประเทศ
1.3 เจ้าภาษีนายอากร ในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการจัดเก็บภาษีใหม่ คือรัฐบาลจะเรียกเก็บภาษีอากรเฉพาะที่สำคัญๆ เท่านั้น ส่วนที่เหลือก็จะประมูลให้เอกชนรับเหมาผูกขาดในการดำเนินการเรียกเก็บจากราษฎร ผู้ที่ประมูลได้เรียกว่า "เจ้าภาษีหรือนายอากร" ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนเกือบทั้งหมดตามหัวเมือง ราษฎรจะเรียกว่า กรมการจีน
ระบบเจ้าเจ้าภาษีนายอากรนี้มีทั้งผลดีและผลเสียต่อชาติดังนี้
ผลดี ช่วยประหยัดในการลงทุนดำเนินการ ทำให้ท้องพระคลังมีจำนวนภาษีที่แน่นอนไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการเรียกเก็บ
ผลเสีย เจ้าภาษีนายอากรบางคนคิดหากำไรในทางมิชอบ มีการรั่วไหลมักใช้อำนาจข่มขู่ราษฎรเรียกเก็บเงินตามพิกัด
2. ที่มาของรายได้แผ่นดินและรายได้ประชาชาติ
2.1 การเกษตร มีความสำคัญต่อความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดเวลา มีกรมนารับผิดชอบ รายได้ของแผ่นดินส่วนใหญ่รับจากภาษีอากรด้านการเกษตร เช่น อากรค่านา อากรสมพัตสร (เก็บจากไม้ล้มลุกแต่ไม่ใช่ข้าว) และมีการเดินสวน เดินนา
2.2 การค้าขาย การค้าจะทำโดยพระคลังสินค้าและขุนนางชั้นผู้ใหญ่ สินค้าที่มีการซื้อขายระหว่างพระคลังกับพ่อค้ามี 2 ประเภทคือ สินค้าผูกขาดกับสินค้าต้องห้าม และได้มีการส่งเรือสำเภาไปค้าขายกับต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นของทางราชการ เช่นค้าขายกับจีน อินเดียและพวกอาหรับ ในสมัยรัชกาลที่ 2 การค้ากับต่างประเทศขยายตัวมากขึ้น เพราะพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ 3 ต่อมา) ทรงเป็นหัวแรงสำคัญจนได้รับสมญาว่า "เจ้าสัว" และมีการค้าขายกับทางตะวันตก เช่น โปรตุเกส อังกฤษ อเมริกา ฮอลันดา สมัยรัชกาลที่ 3 การค้าขายสะดวกรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลจากการทำสนธิสัญญาเบอร์นีกับอังกฤษ
2.3 ภาษีอากร ภาษีอากรที่เรียกเก็บ มี 4 ประเภทคือ
- จังกอบ คือ ค่าผ่านด่านที่เก็บจากเรือ เกวียน หรือเครื่องบรรทุกอื่นที่ผ่านด่าน
- อากร คือ ภาษีที่เก็บจากราษฎรซึ่งประกอบอาชีพที่มิใช่การค้า ซึ่งปกติจะเรียกอากรตามอาชีพที่ทำ เช่น อากรค่านา อากรสุรา
- ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากค่าบริการที่ทางราชการทำให้แก่ราษฎร เช่น ออกโฉนด ค่าธรรมเนียมศาล
- ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่ไพร่หลวงผู้ที่ไม่ต้องเข้าเวรส่งมอบแทนการเข้าประจำการ
3. ระบบเงินตรา
- เงินพดด้วง (รูปสัณฐานกลมเป็นก้อนแต่ตีปลาย 2 ข้างงอเข้าหากัน)
สภาพสังคมไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนใหญ่มีลักษณะโครงสร้างไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยาและธนบุรี
องค์ประกอบของสังคมไทยประกอบด้วยสถาบันต่างๆ ได้แก่ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ และทาส
1. พระมหากษัตริย์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะเป็นทั้งเทวราชาและธรรมราชา
พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์สมมติเทพ พระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะเป็นสมมติเทพตามติของศาสนาพราหมณ์ ขนบธรรมเนียมประเพณีเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสมมติเทพ เช่น การสร้างที่ประทับ พระที่นั่งพระราชวัง การประกอบพิธีต่างๆ การใช้คำราชาศัพท์ เป็นต้น พระมหากษัตริย์ในฐานะธรรมราชา ตามคติธรรมราชานั้นถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม 10 ประการ และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ อย่างไรก็ตาม โดยขัตติยราชประเพณีแล้วพระมหากษัตริย์ทรงดำรงฐานะประดุจดังสมมติเทพ โดยคติความเชื่อ แต่ในทางปฏิบัติ พระองค์ทรงเป็นธรรมราชา ทำให้ฐานะของพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นมีลักษณะของความเป็นผู้นำทางการเมืองที่เหมือนคนธรรมดามากขึ้น แต่พระองค์ก็ยังทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นเจ้าชีวิตของปวงชน เป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นจอมทัพ เป็นต้น และพระบรมราชโองการของพระองค์ ผู้ใดจะฝ่าฝืนไม่ได้ ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษอย่างหนัก
2. พระบรมวงศานุวงศ์
สกุลยศและอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งหลายส่วนใหญ่ก็อยู่ในฐานะอันสูงส่ง ทั้งนี้เพราะเป็นพระญาติวงศ์ของพระมหากษัตริย์ ตำแหน่งของพระบรมวงศานุวงศ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สกุลยศกับอิสริยศ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สกุลยศมีอยู่ 3 ตำแหน่ง คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ส่วนอิสรยศ คือ พระยศที่พระมหากษัตริย์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้น อิสริยยศที่สำคัญที่สุดและสูงที่สุด ได้แก่ พระมหาอุปราช นอกจากนี้การได้รับตำแหน่งทรงกรมก็คือเป็นอิสริยยศด้วยเหมือนกัน ได้แก่ กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จ การถือศักดินาของพระบรมวงศานุวงศ์ แตกต่างกันไปตามลำดับ ถ้าเป็นเจ้าฟ้าจะมีศักดินาสูงสุด หม่อมราชวงศ์จะมีศักดินาต่ำสุด แต่ถ้าทรงกรมก็มีศักดินาสูงกว่าเจ้านายในระดับเดียวกัน แต่มิได้ทรงกรม เช่น เจ้าฟ้าที่เป็นพระเชษฐาหรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ถ้าไม่ได้ทรงกรมจะถือศักดินา 20,000 ไร่ ถ้าทรงกรมจะถือศักดินาถึง 50,000 ไร่ตามลำดับ สิทธิตามกฏหมายของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีสิทธิอยู่ 2 ประการ คือ จะพิจารณาคดีของพระบรมวงศานุวงศ์ในศาลใดๆ ไม่ได้นอกจากศาลของกรมวัง และ จะนำพระบรมวงศานุวงศ์ไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
3. ขุนนาง
คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดิน มีศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เป็นเครื่องชี้บอกถึงอำนาจและเกียรติยศ ขุนนางเปรียบเหมือนข้าราชการของแผ่นดิน แต่ข้าราชการแผ่นดินบางคนจะไม่ได้มีฐานะเป็นขุนนางก็ได้ เพราะการเป็นขุนนางต้องขึ้นอยู่กับศักดินาของตนด้วย ผู้มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไปถึงได้เป็นขุนนาง ยกเว้นพวกมหาดเล็กเพราะถือว่าพวกนี้เป็นขุนนางอยู่แล้ว
การลำดับยศของขุนนาง ยศของขุนนางมี 7 ลำดับ จากสูงสุดไปต่ำสุดดังนี้ สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น และ พัน ศักดินาของสมเด็จเจ้าพระยาอยู่ในระดับ 30,000 ไร่ นับว่าสูงสุดในบรรดาขุนนางทั้งหลาย ส่วนพันถือศักดินา 100-400 ไร่ หมื่นถือศักดินา 200-800 ไร่ ขุนถือศักดินา 200-1,000 ไร่ สำหรับขุนนางที่มียศเป็นหลวงขึ้นไป มีศักดินาไม่ต่ำกว่า 800 ไร่ขึ้นไป แสดงว่าผู้เป็นพัน หมื่น ขุนอาจมีสิทธิไม่ได้เป็นขุนนางก็ได้ ถ้าศักดินาของตนเองไม่ถึง 400 ไร่ และอาจมีสิทธิเป็นขุนนางได้ถ้ามีศักดินาถึง 400 ไร่ขึ้นไป สิทธิตามกฏหมายของพวกขุนนาง เช่น ได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์แรงงานไปใช้ โดยการยกเว้นนี้ต่อเนื่องไปถึงบุตรของขุนนางด้วย แต่ถ้าผู้ใดเป็นข้าราชการมีศักดินาไม่ถึง 400 ไร่ก็จะได้รับเอกสารยกเว้นการเกณฑ์แรงงานเป็นรายบุคคล แต่เอกสารนี้มิได้คลุมไปถึงลูกของข้าราชการเหล่านั้น สำหรับผู้ที่มีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จะได้รับสิทธิเข้าเฝ้าในการเสด็จออกขุนนาง และได้รับอนุญาตให้ผู้อื่นขึ้นศาลแทนตนได้ เป็นต้น
4. ไพร่
ฐานันดรไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีสภาพไม่แตกต่างจากสมัยอยุธยา ไพร่ถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีไว้ เพื่อเกณฑ์แรงงานไปใช้ในราชการต่างๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครอยู่ด้วยและถ้าเจ้าขุนมูลนายของตนสังกัดอยู่กรมกองใด ไพร่ผู้นั้นก็ต้องสังกัดในกรมกองนั้นตามเจ้านายด้วย
ไพร่อาจแบ่งประเภทตามสังกัดได้เป็น 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงและไพร่สม ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ดังนี้
ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่พระราชทานแก่กรมกองต่างๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ระบุไว้ของแต่ละกรมกอง ดังนั้นไพร่หลวง จึงอยู่ในกรม 2 ประเภท คือ ไพร่หลวงที่ต้องมารับราชการตามที่ทางราชการกำหนดไว้ หากมาไม่ได้ต้องให้ผู้อื่นมาแทนหรือส่งเงินแทนการรับราชการ ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้โปรดเกล้าฯให้ไพร่หลวงเปลี่ยนเป็นอยู่เวรรับราชการปีละ 4 เดือน คือ เข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 2 เดือน ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงลดเวลารับราชการของไพร่หลวงลงอีกจาก 4 เดือน เป็น 3 เดือนต่อปี คือเข้าเวร 1 เดือน ออกเวร 3 เดือน ไพร่หลวงที่ต้องเสียเงิน แต่ไม่ต้องมารับราชการ ซึ่งเรียกว่า ไพร่หลวงส่วย ไพร่สม หมายถึง ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทำราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นยังไม่มีเงินเดือน การควบคุมไพร่ของมูลนายจึงหมายถึงการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน เช่น ได้รับส่วนลดจาการเก็บเงินค่าราชการ หรือได้รับของกำนัลจากไพร่ เป็นต้น ไพร่สมนั้นจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ในตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อจากบิดา
ไพร่สามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของตนเองได้ใน 2 กรณี คือ ถ้าทำความดีความชอบอย่างสูงต่อแผ่นดิน อาจได้รับเลื่อนฐานะเป็นขุนนางได้ แต่ถ้ามีความผิดหรือเป็นหนี้สินต่อนายเงิน ก็จะต้องตกเป็นทาสได้เช่นกัน
ในเรื่องความเป็นอยู่ของไพร่นั้น ไพร่หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุด ส่วนไพร่ส่วยสบายที่สุด เพราะในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไพร่หลวงจะถูกเกณฑ์แรงงานเพื่อเข้ารับราชการ ทั้งในยามสงครามและยามสงบปีละ 3 เดือน ส่วนไพร่สมก็มีหน้าที่รับใช้มูลนายเป็นส่วนใหญ่ ไพร่สมจึงทำงานเบากว่าไพร่หลวง
5. ทาส
หมายถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวพ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิ์ในการซื้อขายทาสได้ ลงโทษทุบตีทาสได้ แต่จะให้ถึงตายไม่ได้ ทาสมีศักดินาเพียง 5 ไร่เท่านั้น
การแบ่งประเภทของทาส ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทาสคงมีอยู่ 7 ประเภทเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา ได้แก่ ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์,ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย,ทาสที่ได้มาข้างฝ่ายบิดามารดา,ทาสมีผู้ให้,ทาสอันได้ช่วยกังวลธุระทุกข์ด้วยคนต้องโทษทัณฑ์,ทาสที่เลี้ยงเอาไว้ในเวลาข้าวยากหมากแพง,และทาสเชลย ทาสเหล่านี้อาจไม่ยอมขอทานเพราะถือว่าเป็นเรื่องน่าอับอาย จึงยอมขายตัวลงเป็นทาส การหลุดพ้นจากความเป็นทาส ทาสมีโอกาสได้รับการปลดปล่อยให้หลุดพ้นจากความเป็นทาส ในกรณีต่อไปนี้ - ถ้านายเงินอนุญาตให้ทาสบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณรหรือนางชี ก็ถือว่าหลุดพ้นจากความเป็นทาส แม้ภายหลังจะลาสิกขาบทแล้ว ก็จะเอาคืนมาเป็นทาสของตนไม่ได้ - ในกรณีนายเงินใช้ทาสไปทำสงครามและทาสถูกจับเป็นเชลย ต่อมาหนีรอดมาได้ก็หลุดพ้นจากความเป็นทาส ถ้าทาสฟ้องนายว่าเป็นกบฏและสวบสวนได้ว่าเป็นจริง ให้ทาสนั้นพ้นจากความเป็นทาสได้ - นายเงิน พ่อของนายเงิน หรือพี่น้องลูกหลานของนายเงิน ได้ทาสเป็นภรรยา ให้ทาสนั้นเป็นไท และลูกที่เกิดมานั้นเป็นไทด้วย ถ้าทาสนั้นตายด้วยการทำธุรกิจใดๆ ให้แก่นายเงิน นายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายไม่ได้ แต่ถ้าตายด้วยเหตุอื่นนายเงินจะเรียกเอาเงินคืนจากผู้ขายได้บ้าง เป็นอิสระด้วยการไถ่ตัว อาจจะเป็นผู้ขอไถ่ตัวเอง หรือมีบุคคลใดก็ได้มาไถ่ให้เป็นอิสระ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภายหลังจากการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทาสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกทาสได้เพิ่มจำนวนมาก และคาดว่าผู้ที่เป็นทาสนั้นมีจำนวนถึง 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่ยอมเป็นทาสเพราะปัญหาซึ่งมีหนี้สินเป็นจำนวนมากที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกชาวบ้านเป็นจำนวนมากที่ต้องเป็นหนี้สินเนื่องจากเก็บเกี่ยวไม่ได้ผล แต่ก็มีอีกเป็นจำนวนมากที่ยอมขายตัวเพื่อจะได้ไม่ต้องถูกเกณฑ์ไปทำงาน
นอกจากนี้สถาบันสงฆ์ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ ขุนนาง ไพร่ ทาส อาจเปลี่ยนสถานภาพจากฆราวาสมาเป็นพระภิกษุในสถาบันสงฆ์ได้ และผู้เป็นพระสงฆ์จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์แรงงาน
พระสงฆ์จะเป็นผู้ได้รับความเคารพนับถือจากคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ลงมาจนถึงไพร่และทาส แต่ในบางครั้งเมื่อสถาบันพระสงฆ์เสื่อมโทรมด้วยข้อวัตรปฏิบัติ พระมหากษัตริย์จะทรงเอาเป็นพระธุระเพื่อปรับปรุงแก้ไข และทำการปฏิรูปคณะสงฆ์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ดังเช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงออกกฏหมายพระสงฆ์เพื่อควบคุมให้พระสงฆ์มีความบริสุทธิ์ เป็นต้น
สำหรับคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอาศัยอยู่ในราชอาณาจักรมีอยู่ด้วยกันหลายพวก เป็นต้นว่า มอญ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน บางพวกก็หนีร้อนมาพึ่งเย็น บางพวกก็ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลย ไม่ได้มีโอกาสกลับบ้านเมืองของตนเอง แต่ในบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรและมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อสังคมและเศรษฐกิจของไทยในสมัยนี้คือพวกคนจีน
ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น นับว่าเป็นการสืบสานวัฒนธรรมไทยเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาให้กลับมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นใหม่ นอกจากนี้ก็มีการปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ให้วัฒนธรรมไทยในยุคนี้ด้วย นับได้ว่าเป็นการธำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อยุธยาให้กลับเจริญรุ่งเรือง หลังจากประสบกับวิกฤตการณ์สงครามสู้รบระหว่างไทยกับพม่ามาแล้ว
สภาพทางสังคมของไทยตั้งแต่อดีต ได้ผูกพันกับพระพุทธศาสนามาโดยตลอด ความเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมจึงมีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเจริญรุ่งเรืองทางศาสนาด้วย ศิลปกรรมและวรรณกรรมต่างๆ ที่บรรจงสร้างด้วยความประณีตก็เกิดจากแรงศรัทธาทางศาสนาทั้งสิ้น
1. การทำนุบำรุงทางด้านพระพุทธศาสนา
ในสมัยรัชกาลที่ 1 (พ.ศ.2325-2352) พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใน พ.ศ.2331 โดยใช้เวลาประชุมกันประมาณ 5 เดือน ในสมัยรัชกาลที่ 2 (พ.ศ.2352-2367) พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชกุศลอย่างใหญ่โตในวันวิสาขบูชา เหมือนดังที่เคยทำกันในสมัยอยุธยา คือ ทำบุญกันทั่วไปเป็นเวลา 3 วัน สัตว์ที่เคยถูกฆ่าเป็นอาหารนั้นโปรดให้ปล่อยให้หมดภายใน 3 วัน มิให้มีการฆ่าสัตว์โดยเด็ดขาด ในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมาก พระองค์ทรงทำนุบำรุงคณะสงฆ์ ตลอดจนทรงสร้างและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปและวัดวาอารามมากมาย ในสมัยนี้ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์ได้มีโอกาสเผยแผ่ในประเทศไทยโดยพวกมิชชันนารี ทำให้คนไทยบางส่วนหันไปนับถือศาสนาคริสต์ ขณะเดียวกันในวงการพระพุทธศาสนาของไทยก็มีการเคลื่อนไหวที่จะปฏิรูปข้อวัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์ไทยให้สอดคล้องกับคำสอนในพระไตรปิฏก โดยเจ้าฟ้ามงกุฏ ซึ่งทรงผนวชมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และได้เสด็จมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (พ.ศ.2370-2394) ทรงเป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปครั้งนั้น จนกระทั่งได้ทรงตั้งนิกายใหม่ เรียกว่า "ธรรมยุติกนิกาย"
2. การทำนุบำรุงศิลปกรรม
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 1 ในบรรดาศิลปกรรมของไทยซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสนพระทัยมากนั้น ได้แก่ บรรดาตึกรามต่างๆ ที่สร้างขึ้น ล้วนมีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงามทั้งภายในและภายนอก ทั้งโดยปูนและโดยไม้แกะสลัก ตึกที่ทรงให้จัดสร้างขึ้นส่วนมากเป็นวัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีพระที่นั่งต่างๆ เช่น พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย, พระที่นั่งไพศาลทักษิณ, พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน, พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นต้น รัชกาลที่ 1 ทรงสนพระทัยทางด้านวรรณคดี ดังนั้นในสมัยนี้จึงมีบทวรรณคดีที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ นอกจากนี้ก็มีการแปลวรรณกรรมต่างชาติมาเป็นภาษาไทย เช่น หนังสือสามก๊ก ,ราชาธิราช เป็นต้น
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงสนพระทัยในเรื่องการก่อสร้างและตกแต่งตึกรามต่างๆ พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้าง "สวนขวา" ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง ทรงริเริ่มสร้างพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม (แต่สร้างสำเร็จเรียบร้อยในสมัยรัชกาลที่ 3) พระปรางค์จะตกแต่งด้วยถ้วยและชามจีนซึ่งทุบให้แตกบ้าง แล้วติดกับฝาทำเป็นลวดลายรูปต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ พระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางด้านการแกะสลัก ดังจะเห็นได้จากประตูวัดพระเชตพนวิมลมังคลาราม ประตูวัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นต้น รัชกาลที่ 2 โปรดการฟ้อนรำอย่างโบราณของไทยเป็นอันมาก ทั้งโขนและละคร ทรงปรับปรุงจังหวะและท่ารำต่างๆ โดยพระองค์เอง พระองค์โปรดให้มีพระราชนิพนธ์บทละครขึ้นใหม่ ทั้งที่เป็นเรื่องเดิมและเรื่องใหม่ หรือเอาเรื่องเดิมมาแต่งขึ้นใหม่ บทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 มีทั้งหมด 7 เรื่อง เรื่อง"อิเหนา" เป็นเรื่องที่พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์เองตลอดทั้งเรื่อง ส่วนอีก 6 เรื่อง โปรดเกล้าฯ ให้กวีท่านอื่นๆ ร่วมงานด้วย
การทำนุบำรุงด้านศิลปกรรมในสมัยรัชกาลที่ 3 การผลิตงานทางด้านศิลปะในสมัยรัชกาลที่ 3 จัดว่ามีลักษณะเยี่ยมยอดในวงการศิลปะของไทยไม่แพ้ในสมัยอื่น ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมุ่งซ่อมแซมและปรับปรุงปราสาทมากกว่าจะสร้างใหม่ โดยระมัดระวังรักษาแบบดั้งเดิมเอาไว้ พระองค์ทรงปฏิสังขรณ์และขยายเขตวัดวาอารามมากมาย ทรงสร้างวัดด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ขึ้น 5 วัด ให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสร้างอีก 6 วัด วัดสำคัญที่สร้างในสมัยนี้ได้แก่ วัดเทพธิดาราม,วัดราชนัดดา,วัดเฉลิมพระเกียรติ์,วัดบวรนิเวศวรวิหาร,วัดบวรสถาน,วัดประยูรวงศ์,วัดกัลยาณมิตร เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมากมายที่เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมทางศาสนาของไทย เช่น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ พระสถูป พระมลฑป หอระฆัง เป็นต้น โบสถ์และวิหารที่สร้างขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีหลังคาลาดเป็นชั้น มุงกระเบี้องสี ผนังก่ออิฐถือปูนประดับลวดลาย และมีเสาใหญ่รายรอบรับชายคา โบสถ์ขนาดใหญ่และสวยงามที่สร้างในรัชกาลนี้คือ โบสถ์วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งสร้างแบบสามัญ ส่วนโบสถ์วัดบวรนิเวศวรวิหารสร้างเป็นแบบมีมุขยื่นออกมาทั้งสองข้างทางด้านปลาย สถาปัตยกรรมแบบไทยอย่างอื่นๆ ที่มีความสำคัญรองลงมา คือ พระมณฑป ศาลา หอระฆัง และระเบียงโบสถ์ สิ่งก่อสร้างเหล่านี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และเป็นงานที่ดีที่สุด คือ ระเบียงรอบพระวิหารที่วัดสุทัศน์เทพวราราม ซึ่งมีหน้าบันแกะสลักไว้อย่างงดงาม
ผลงานทางสถาปัตยกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ได้ก่อสร้างไว้บริเวณวัด และจัดอยู่ในจำพวกสิ่งก่อสร้างปลีกย่อยคือ เรือสำเภาซึ่งก่อด้วยอิฐ รัชกาลที่ 3 ทรงมีรับสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อว่าในอนาคตเมื่อไม่มีการสร้างเรือสำเภากันอีกแล้ว ประชาชนจะได้แลเห็นว่าเรือสำเภานั้นมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร วัดที่พระองค์ทรงรับสั่งให้สร้างสิ่งอันเป็นประวัติศาสตร์นี้ คือ "วัดยานนาวา"
ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภาพเขียนแบบไทยต่างๆ ส่วนมากไม่โดดเด่น ที่เขียนขี้นมาส่วนใหญ่เพื่อความมุ่งหมายในการประดับให้สวยงามเท่านั้น ส่วนงานช่างแกะสลักในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็เกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนามากกว่างานช่างในสาขาจิตรกรรม โดยเฉพาะองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเครื่องบันดาลใจอันสำคัญยิ่งที่ก่อให้เกิดผลงานทางด้านศิลปะประเภทนี้
ทางด้านวรรณกรรม รัชกาลที่ 3 ทรงสนับสนุนวรรณคดีทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ดังเช่น หนังสือเรื่อง "มลินทปัญญา" เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ไม่สนับสนุนให้มีการแสดงละครภายในพระบรมมหาราชวัง ทั้งยังไม่โปรดปรานนักแสดงหรือนักประพันธ์คนใดเลย
กล่าวโดยสรุป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น การทำนุบำรุงและฟื้นฟูทางด้านศิลปวัฒนธรรมได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และการทำนุบำรุงก็กระทำโดยวิธีรักษารูปแบบเดิมไว้ตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ในขณะเดียวกันก็เพิ่มเติมสิ่งใหม่ๆ ผสมผสานเข้าไปด้วย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมของไทยในยุคนี้เจริญรุ่งเรืองมาก
อ้างอิง
Tuesday, June 8, 2010
วิธีการทางประวัติศาสตร์
ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์
วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์
ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์
สำหรับการศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน
ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)
การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรอง
ในการรวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริง
การศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน
การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่ง
อาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ในการตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น
ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา
Sunday, May 23, 2010
วันวิสาขบูชา






ส่วนชาวสุโขทัยจะรักษาศีล ฟังธรรม ถวายสลากภัต สังฆทาน อาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณร บริจาคทานแก่คนยากจน ทำบุญไถ่ชีวิตสัตว์ ฯลฯ
กิจกรรมในวันวิสาขบูชา
กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนพึงปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่
1. ทำบุญใส่บาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับ และเจ้ากรรมนายเวร
2. จัดสำรับคาวหวานไปทำบุญถวายภัตตาหารที่วัด และปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ปล่อยนกปล่อยปลา เพื่อสร้างบุญสร้างกุศล
4. ร่วมเวียนเทียนรอบอุโบสถที่วัดในตอนค่ำ เพื่อรำลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
5. ร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
6. จัดแสดงนิทรรศการ ประวัติ หรือเรื่องราวความเป็นมาเกี่ยวกับวันวิสาขบูชาตามโรงเรียน หรือสถานที่ราชการต่างๆ เพื่อให้ความรู้ และเป็นการร่วมรำลึกถึงความสำคัญของวันวิสาขบูชา
7. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน วัดและสถานที่ราชการ
8. บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
หลักธรรมที่สำคัญที่ควรนำมาปฏิบัติ
ในวันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรยึดมั่นในหลักธรรม ซึ่งหลักธรรมที่ควรนำมาปฏิบัติในวันวิสาขบูชา ได้แก่
1. ความกตัญญู
คือ การรู้คุณคน เป็นคุณธรรมที่คู่กับความกตเวที ซึ่งหมายถึงการตอบแทนคุณที่มีผู้ทำไว้ ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ เป็นเครื่องหมายของคนดี ทำให้ครอบครัวและสังคมมีความสุข ซึ่งความกตัญญูกตเวทีนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้ง บิดามารดาและลูก ครูอาจารย์กับศิษย์ นายจ้างกับลูกจ้าง ฯลฯ
ในพระพุทธศาสนา เปรียบพระพุทธเจ้าเสมือนกับบุพการี ผู้ชี้ให้เห็นทางหลุดพ้นแห่งความทุกข์ ดังนั้นพุทธศาสนิกชนจึงควรตอบแทนด้วยความกตัญญูกตเวทีด้วยการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่สืบไป
2. อริยสัจ 4
คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ในวันวิสาขบูชา ได้แก่
ทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิต สภาวะที่ทนได้ยาก ซึ่งทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ การเกิด การแก่ และการตาย ล้วนเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญ ส่วนทุกข์จร คือ ทุกข์ที่เกิดขึ้นในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การพลัดพลาดจากสิ่งที่เป็นที่รัก หรือ ความยากจน เป็นต้น
สมุทัย คือ ต้นเหตุของปัญหา หรือสาเหตุของการเกิดทุกข์ และสาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาเกิดจาก "ตัณหา" อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เป็นสภาพที่ความทุกข์หมดไป เพราะสามารถดับกิเลส ตัณหา อุปาทานออกไปได้
มรรค คือ หนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ เป็นการปฎิบัติเพื่อแก้ปัญหา มี 8 ประการ ได้แก่ ความเห็นชอบ ดำริชอบ วาจาชอบ กระทำชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งจิตมั่นชอบ
3. ความไม่ประมาท
คือการมีสติตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำอะไร พูดอะไร คิดอะไร ล้วนต้องใช้สติ เพราะสติคือการระลึกได้ การระลึกได้อยู่เสมอจะทำให้เราใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาท ซึ่งความประมาทนั้นจะทำให้เกิดปัญหายุ่งยากตามมา ดังนั้นในวันนี้พุทธศาสนิกชนจะพากันน้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยความมีสติ วันวิสาขบูชา นับว่าเป็นวันที่มีความสำคัญสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกคน เป็นวันที่มีการทำพิธีพุทธบูชา เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระวิสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ อีกทั้งเพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์อันน่าอัศจรรย์ทั้ง 3 ประการ ที่มาบังเกิดในวันเดียวกัน และนำหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์มาเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติในการดำรงชีวิตค่ะ
อ้างอิง:www.kapook.com
Saturday, May 15, 2010
การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย

นักประวัติศาสตร์สากล ได้พัฒนาวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์มาเป็นเวลาประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อให้การศึกษาประวัติศาสตร์มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ ทำให้เรารู้และเข้าใจ เรื่องราวทั้งหลายของผู้คนในอดีตได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการเข้าใจปัจจุบันและคาดการณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผล
การนับและเทียบศักราชสากลและไทย
1.การนับศักราชสากลที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันคือ คริสต์ศักราช ซึ่งเป็นศักราชของคริสต์ศาสนา เริ่มนับเมื่อพระเยซู(ประสูติ) ซึ่งเป็นศาสนาของคริสต์ศาสนาประสูติ นับเป็นคริสต์ศักราช 1 (ค.ศ.1) หรือ A.D.1 ย่อมาจากคำว่า “Anno Domini”
2.การนับศักราชไทย ที่ใช้กันปัจจุบัน คือพุทธศักราช ซึ่งเป็นศักราชของพระพุทธศาสนา คือ พ.ศ.1 หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว 1 ปี คือ ปีแรกนับเป็นพ.ศ.๐ เมื่อครบ 1 ปี จึงเริ่มนับ พ.ศ.1
นอกจากนับศักราชเป็นแบบ พ.ศ. แล้ว ในเมืองไทยยังมีการนับศักราชแบบอื่น ๆ ด้วย คือ รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) มหาศักราช (ม.ศ.)
ศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือพุทธศักราช (พ.ศ.) รัตนโกสินทร์ศก หรือ ร.ศ.) จุลศักราช (จ.ศ.) คริสต์ศักราช (ค.ศ.) และมหาศักราช (ม.ศ.) ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกัน
พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี
พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่ โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา




หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
- แบ่งต่ามความเจริญทางอารยธรรมของมนุษย์
- แบ่งตามการเริ่มต้นของเหตุการณ์สำคัญ
- แบ่งตามชื่อจักรวรรดิ หรืออาณาจักรที่สำคัญที่เคยรุ่งเรือง
- แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครองประเทศ
- แบ่งตามการตั้งเมืองหลวง
ตารางการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล

2. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ส่วนใหญ่ยึดถือหลักเกณฑ์ของประวัติศาสตร์สากล แบ่งเป็น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ไทย และสมัยประวัติศาสตร์ไทย
สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตาม
- สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๑๘๐ ถึง พ.ศ. ๑๗๙๒
- สมัยสุโขทัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๗๙๒ ถึง ๒๐๐๖
- สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓ ถึง ๒๓๑๐
- สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง ๒๓๒๕
- สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง ปัจจุบัน
การเทียบยุคสมัยสำคัญระหว่างประวัติศาสตร์สากลกับไทย
ประวัติศาสตร์สากล
สมัยโบราณ
สมัยกลาง
- การปกครองในระบบฟิวดัล
- การฟื้นฟูเมืองและการค้า
- การฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
- การค้นพบทวีปอเมริกา
- การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- การปฏิวัติฝรั่งเศส
- สงครามโลกครั้งที่ 1-2
- สิ้นสุดสมัยใหม่ ค.ศ.1945
- ยุคเทคโนโลยีการสื่อสาร
สมัยโบราณหรือสมัยก่อนสุโขทัย
-อาณาจักรลังกาสุกะ
-อาณาจักรทวารวดี
-อาณาจักรโยนกเชียงแสน
-อาณาจักรตามพรลิงค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (๒๔๘๙ - ปัจจุบัน)
ตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญที่แสดงความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของกาลเวลา
๑. ประวัติศาสตร์สากล
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์สากละนำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคจักรวรรดินิยม เกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และพลังทางสังคม ซึ่งทำให้ประเทศในทวีปยุโรปมีอำนาจเข้มแข็งมีความก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจ มีความเจริญรุ่งเรือง แต่การมีอำนาจและความมั่นคงดังกล่าวเกิดขึ้นมาเพราะการปฏิวัติอุตสาหกรรม และยุคจักรวรรดินิยม สิ้นสุดเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งทำให้มหาอำนาจทั้งหลายหยุดการล่าอาณานิคม แต่อาณานิคมทั้งหลายที่เป็นอยู่ก็ยังคงเป็นอาณานิคมต่อมาอีกหลายปี หลายชาติ เริ่มเรียกร้องเอกราช และส่วนใหญ่ได้เอกราชคืนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
๒. ประวัติศาสตร์ไทย
เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย ที่นำมาเป็นตัวอย่าง คือ ยุคการปรับปรุงประเทศ
อยู่ในช่วง พงศ. 2394-2475 หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ระหว่างนี้มีการปรับปรุงและปฏิรูปประเทศทุกด้านทั้งการปกครอง สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ฯลฯ
วิธีการทางประวัติศาสตร์
ความหมายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก การวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายใน การวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความเป็นจริง
จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น ในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา